จ้างพิสูจน์อักษร รับพิสูจน์อักษร พิสูจน์อักษร พิสูจน์อักษรภาษาไทย พิสูจน์อักษรภาษาอังกฤษ พิสูจน์อักษรนิยาย แปลภาษาอังกฤษ แปลบทคัดย่อ ตรวจรีพอร์ต แปลงานวิจัย ตรวจงานวิจัย งาน edit ภาษา ตรวจคำผิด ตรวจปรู๊ฟ ตรวจรูปแบบวิจัย ทำดัชนีวิจัย ตรวจ Proof ตรวจคำผิดนิยาย ตรวจนิยายวาย แปลเอกสาร โดยนักศึกษาเกียรตินิยมเหรียญทอง ทุนภูมิพล

รับพิสูจน์อักษร 

พิสูจน์อักษร อัปเดต คิวงานตรวจ งานแปล ปี 2567 ยังมีว่างอยู่
ติดต่อมาได้เลยนะคะ 🙂 ดูรีวิวลูกค้าด้านล่างได้เลยค่ะ ไว้จะมาอัปเดตรีวิวเพิ่มเติมนะคะ

#รับพิสูจน์อักษร

#รับตรวจรูปแบบงานวิจัย ทำดัชนีงานวิจัย
#รับทำบรรณานุกรม
#รับจัดหน้างานวิจัย
#รับแปลภาษาอังกฤษ
#รับตรวจฟอร์แมตงานวิจัย

รับพิสูจน์อักษร โดย นักพิสูจน์อักษรมืออาชีพ ศึกษาด้านภาษาไทย
(เกียรตินิยมเหรียญทอง รางวัลเรียนดีทุนภูมิพล) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

**ด่วน โทร. 086 5300 142 ได้เลยค่ะ**
สิรินัดดา รับสายเอง ทำงานเองค่ะ

รับตรวจทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
รับแปลภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทย
แปลภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ

Line id : sirinadda-y ( ติดต่อได้ 24 ชม.)
Tel. : 086 530 0142 (กรณีด่วน ติดต่อเวลา 10.00 น.- 22.00 น.)

ชมผลงานการตรวจพิสูจน์อักษร และรีวิวจากลูกค้าด้านล่างได้เลยค่ะ
ตรวจมากกว่า 300 เล่ม วางใจเรื่องคุณภาพและราคาได้ค่ะ

28379061_10155512795768719_603177527785384047_n
คำขอบคุณจาก ลินอลิน นักเขียนสาวสวย เจ้าของผลงานนวนิยายขายดี “เพียงรักมหาศาล”

หากใครกำลังมองหา “นักพิสูจน์อักษร” เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของภาษา
อักษร คำทับศัพท์ การใช้คำทุกชนิด รวมถึงเรียบเรียงให้สละสลวย และอื่น ๆ ฯลฯ
ไม่ว่าจะเป็นต้นฉบับนวนิยาย หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย แผ่นพับ โฆษณา
หรืองานใดก็ตามที่ต้องการความถูกต้อง แม่นยำทางภาษา

ติดต่อได้ที่

Line id : sirinadda-y  (ช่องทางที่เร็วที่สุด 24 ชม.)

Tel : 08 – 6530 – 0142  (ติดต่อเวลา 10.00 น. – 22.00 น.)

Facebook :  Sirinadda Sukathap

E-mail : sirinaddaa@gmail.com 

พิสูจน์อักษร โดย นักพิสูจน์อักษรมืออาชีพ ศึกษาด้านภาษาไทย
(เกียรตินิยมเหรียญทอง รางวัลทุนภูมิพล) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์การทำงานพิสูจน์อักษรในองค์กรสื่อชื่อดัง 10 ปี
ได้รับการประเมินผลงาน ระดับเกรด A ทุกปี
มีความรู้รอบตัวหลากประเภท และรักการอ่าน
ผ่านการตรวจงานพิสูจน์อักษรหนังสือ งานวิจัย นวนิยาย ฯลฯ มากกว่า 500 เล่ม
สามารถตรวจทานแก้ไขประโยค รีไรต์งานได้ ตามแต่ตกลง
ส่งงานตรงตามเวลา ไว้ใจเรื่องคุณภาพของงานได้ค่ะ

หมายเหตุ* ระยะเวลาการตรวจงาน ขึ้นกับจำนวนหน้า
และคิวงานตรวจ โดยทั่วไป ใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์
รับรองความพึงพอใจโดยลูกค้าที่ใช้บริการ
กลับมาใช้บริการซ้ำอีกครั้ง หมดปัญหาคำผิดในงานวิจัย ไม่โดนอาจารย์แก้ซ้ำแน่นอน
ประหยัดเวลาให้คุณได้เป็นอย่างดี 


* สำหรับเรตราคาพิสูจน์อักษรภาษาไทย ปกติอยู่ที่หน้าละ 8-10 บาท font 16 pt.
ภาษาอังกฤษ (ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและความยากง่ายค่ะ ถ้ามีปรับแก้ประโยคด้วย)
หรือถ้าลูกค้ามีงบประมาณเท่าไร แจ้งได้ค่ะ หน้าที่มีอักษรไม่กี่ประโยค
หรือมีรูปภาพเกือบทั้งหน้า ไม่คิดเงินค่ะ
ถ้าเหมาเป็นเล่ม ต่อรองราคากันได้
เราคุยง่ายค่ะ ทักมาสอบถามพูดคุยขอบเขตงานกันก่อนได้ค่ะ ไม่จ้าง
ไม่เป็นไรนะคะ 😀 *

ขอบเขตของงานพิสูจน์อักษร คือ ตรวจคำผิด ดูความสละสลวยประโยค แก้การใช้คำฟุ่มเฟือย เรียบเรียง สลับคำให้สละสลวย ดูการเว้นวรรค การใช้เครื่องหมาย ฯลฯ 

โดยมีลักษณะการตรวจทั้งหมด 3 รูปแบบ

1. ตรวจแก้ไขในไฟล์เวิร์ด โดยทำสัญลักษณ์เป็นอักษรสีแดงในส่วนที่แก้ไข

2. ตรวจแก้ไขไฟล์ pdf. ใน Adobe acrobat ทำโน้ต และไฮไลต์
ลูกค้านำไปอ่านและแก้ไขตามที่โน้ต (วิธีนี้แนะนำค่ะ เนื่องจากไม่มีปัญหา
เรื่องการใช้เวิร์ดคนละเวอร์ชัน และการจัดหน้า) ส่วนมากลูกค้าที่เป็นนิตยสาร
และสำนักพิมพ์ จะเลือกวิธีนี้

3. ส่งงานเป็นกระดาษมาให้สิรินัดดาที่บ้าน
(ลูกค้าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดส่งค่ะ)

ลูกค้าสามารถคุยเรื่องงบฯ ที่ลูกค้ามีได้ค่ะ เรื่องนี้ไว้ใจได้
เราไม่เคยเอาเปรียบลูกค้า อ่านได้จากคอมเมนต์ด้านล่าง
ที่ลูกค้าส่งให้เรานะคะ หากคิดว่าราคาสูงไป ผ่านได้เลยค่ะ ไม่เป็นไร 😀
สำหรับเรา งานตรวจคำผิดไม่ใช่งานที่ทุกคนทำได้ ถ้าหากติดต่อมาบ่นว่าแพงไป
ในวงการนี้ยังมีฟรีแลนซ์อีกหลายคนค่ะ ราคาหน้าละ 3-5 บาทก็มี ขึ้นอยู่กับลูกค้าเลือก
จะได้ไม่เสียความรู้สึกกัน บางครั้ง บางคนต้องการงานด่วน เรายังไม่รับเลยค่ะ
เราทำตามคิว และใช้เวลาเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด ไม่รับงานซ้อนกัน

ตัวอย่างคอมเมนต์จากลูกค้า

27066802_10155402475283719_3764606196486726856_n
28472038_10155512795628719_2913949297348811295_n
26734252_10155402475298719_2596763453199090258_n

ขอบคุณนะคะ 😀 คำชมจากลูกค้าเป็นสิ่งที่เราปลื้มใจเสมอ
ลูกค้าอยากเลี้ยงข้าวเลยค่ะ 😀 เป็นลูกค้างานวิจัย ป.โท ที่จ้างตรวจงานกันหลายรอบมาก งานผิดมากแค่ไหน ก็รับมือไหว
คุณ ลินอลิน นักเขียนที่น่ารักและเขียนนิยายสนุก ควรค่าแก่การอ่าน ก็ใช้บริการ สิรินัดดา 😀

28576856_10155512795798719_8778999482625028604_n
22046805_10155133277598719_7742617177233323677_n
22008325_10155133277593719_6430509838243661250_n
25497996_10155320942518719_3045606500552042331_n

ว้าว จองตัวเลยทีเดียว
แม้จะไม่เคยเรียนกฎหมายมาก่อน แต่ก็จัดการไหว 😀
ตรวจตำรากฎหมาย 400 หน้า ได้รับคำชมจากลูกค้า
เราก็มีความสุขทุกครั้ง เวลาคุยกับลูกค้าค่ะ

28472273_10155512795643719_3988471410034992588_n
28576066_10155512795638719_1131600001593627796_n

สำนักพิมพ์ขอจองคิวเลยค่ะ ^^ ตรวจหลายเล่มจนตอนนี้ เป็นลูกค้าประจำกันแล้ว ลดราคาให้รัว ๆ
คำชมเชยจากลูกค้า เป็นเครื่องพิสูจน์ผลงานได้อย่างดีเลยค่ะ

ตี 4 ก็ยังทำงาน เป็นห่วงงานนะคะ ^^ เดดไลน์สบาย ๆ ค่ะ
13718748_10153871031373719_6190827267741828966_n
งานวิจัย 100 หน้า คิดราคาแค่ 1,000 บาท ลูกค้าเพิ่มเงินให้เฉยเลย ^^
22050083_10155133277583719_5807308802001377423_n
งานเสร็จค่อยโอนเงินนะคะ ลดให้ลูกค้า ก็ไม่ยอม โอนเต็มจำนวนมาตลอด ขอบคุณนะคะ
13709822_10153871031308719_3297843425351646108_n
ใช้บริการครั้งที่สองแล้วค่ะ จากลูกค้าที่น่ารัก ^^
13715966_10153878258313719_2642409827752013497_n
14064116_10153958113723719_6116176707836650537_n
14045972_10153958113953719_5750106263141915621_n
img_0026

ขอบคุณมากค่ะที่ไว้ใจให้ตรวจงานวิทยานิพนธ์ 😀
ตรวจงานหนังสือให้น้องคนหนึ่ง รับรองคุณภาพค่ะ 😀 ผิดเยอะแค่ไหน เราก็จัดการได้
ลูกค้าเรียกใช้บริการซ้ำ เพราะพึงพอใจคุณภาพงาน หมดปัญหาคำผิดในหนังสือ
ลูกค้ายอมจ่ายแพงขึ้น สำหรับงานด่วน เพราะประทับใจความละเอียด ^^

ใช้บริการรอบที่ 4 แล้วค่ะ สำหรับ สนพ.นี้ ^^

ตัวอย่างผลงานฟรีแลนซ์ที่ผ่านมา

– ตรวจสารนิพนธ์ ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ตรวจวิทยานิพนธ์ ให้นักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอื่น ๆ
– ตรวจนิทานสำหรับเด็ก ให้สำนักพิมพ์ Aksara For Kids 2 เล่ม
– ตรวจหนังสือธรรมะ
– ตรวจงานวิจัยให้นายตำรวจท่านหนึ่ง 3 เล่ม
– ตรวจหนังสือ E-Book เรื่องวัยรุ่น GenY พลิกชีวิตจากความคิด วิชาชีวิตก่อนเรียนจบ
– ตรวจงานวิจัย สำหรับทำ รศ. ด้านนาโนเทคโนโลยี
– ตรวจงานวิจัยด้านแอนิเมชัน
– ตรวจหนังสือเรื่อง คุณแม่จากขอบฟ้ากระต่าย

– ตรวจหนังสือให้ สนพ. วารา พับบลิชชิ่ง
เช่น คู่มือข้างหมอน, ต่อกรกับวายร้ายตัวน้อย, The Palace บันทึกวังหลวง
สวนสัตว์เบื่อโลก, Perfect Remains สยอง, พวกเราไม่ได้ป่วย,
เลี้ยงลูกให้ถูก ตอน 3 ปี ลูกจะทำดีไปตลอดชีวิต, คู่มือเตรียมสอบนักวิเคราะห์นโยบาย
และแผนปฏิบัติการ, คู่มือฝึกจัดการเวลาสำหรับเด็ก, คนเก่งจริงจะไม่พ่ายแพ้ต่ออารมณ์
การข่มขู่ทางอารมณ์, ชานไห่จิง คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล, ฉันไม่ชอบทั้งโลก
ฉันชอบแค่เธอคนเดียว ฯลฯ
– ตรวจงานวิจัยด้านปิโตรเคมี
– ตรวจนิตยสารท่องเที่ยว Vacationist ทุกเดือน
– ตรวจตำราเรียนวิศวกรรม
– ตรวจตำรากฎหมาย
– ตรวจวิจัยกฎหมาย
– ตรวจตำราสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา
– ตรวจรวมฎีกา, อาญา, กฎหมายเยาวชน
– ตรวจฟรีแลนซ์ให้นิตยสารลิปส์
– ตรวจหนังสือองค์กรต่าง ๆ
– ตรวจ Ad ของนิตยสาร Vogue Thailand
– ตรวจงานของกรมการท่องเที่ยว
– ตรวจ E-book Sisi จักรพรรดินีผู้เป็นตำนาน

– ตรวจเว็บไซต์ KTAM ธนาคารกรุงไทย
– ตรวจงานของ Alibaba, Ctrip

ฯลฯ

บริการด้วยใจ ราคามิตรภาพ

หรือหากมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย ไลน์มาคุยกันได้นะคะ
แค่สอบถามพูดคุยกันก็ยินดีมาก ๆ แล้วค่ะ

ป.ล. รับงานเพราะคิดว่ามั่นใจในความรู้ ความสามารถของตัวเอง
และต้องการช่วยคนที่ไม่มีเวลาตรวจทานงาน งานทุกชิ้น ใช้เวลาหลังจากเสร็จงานประจำ มั่นใจเรื่องคุณภาพของงานได้ค่ะ เราเชื่อว่า ความรู้ของเรา จะช่วยประหยัดเวลาให้คุณได้

งานดี งานถูกต้อง ราคามิตรภาพ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้ภาษาไทยได้ที่ ภาษาไทยน่ารู้
อ่านเพิ่มเติม เรื่องราวการเป็นพิสูจน์อักษรของเราได้ที่ พิสูจน์อักษรสตอรี่

รับพิสูจน์อักษร พิสูจน์อักษรภาษาไทย พิสูจน์อักษรภาษาอังกฤษ จ้างพิสูจน์อักษรนิยาย พิสูจน์อักษรวิทยานิพนธ์ ทำบรรณานุกรม แปลภาษาอังกฤษ แปลบทคัดย่อ ตรวจ report แปลงานวิจัย ตรวจงานวิจัย ตรวจคำผิด ตรวจปรู๊ฟ ตรวจ Proof รับตรวจคำผิด รับรีไรต์งาน edit ภาษา รับเขียนบรรณานุกรม

อัปเดต คิวงานปี 2567 ยังรับอยู่
ติดต่อมาได้เลยนะคะ 🙂

รับตรวจทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
รับแปลภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทย
แปลภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ

รับทำบรรณานุกรม, รับเขียนบรรณานุกรม APA6, APA7

Line id : sirinadda-y ( ติดต่อได้ 24 ชม.)
Tel. : 086 530 0142 (กรณีด่วน ติดต่อเวลา 10.00 น.- 22.00 น.)

ชมผลงานการตรวจพิสูจน์อักษร และรีวิวจากลูกค้าด้านล่างได้เลยค่ะ
ตรวจมากกว่า 500 เล่ม วางใจเรื่องคุณภาพและราคาได้ค่ะ

28379061_10155512795768719_603177527785384047_n

คำขอบคุณจาก ลินอลิน นักเขียนสาวสวย เจ้าของผลงานนวนิยายขายดี “เพียงรักมหาศาล”

หากใครกำลังมองหา “นักพิสูจน์อักษร” เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของภาษา
อักษร คำทับศัพท์ การใช้คำทุกชนิด รวมถึงเรียบเรียงให้สละสลวย และอื่น ๆ ฯลฯ
ไม่ว่าจะเป็นต้นฉบับนวนิยาย หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย แผ่นพับ โฆษณา
หรืองานใดก็ตามที่ต้องการความถูกต้อง แม่นยำทางภาษา

ติดต่อได้ที่

Line id : sirinadda-y  (ช่องทางที่เร็วที่สุด 24 ชม.)

Tel : 08 – 6530 – 0142  (ติดต่อเวลา 10.00 . – 22.00 .)

Facebook :  Sirinadda Sukathap

E-mail : sirinaddaa@gmail.com 

พิสูจน์อักษร โดย นักพิสูจน์อักษรมืออาชีพ ศึกษาด้านภาษาไทย
(เกียรตินิยมเหรียญทอง รางวัลทุนภูมิพล) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์การทำงานพิสูจน์อักษรในองค์กรสื่อชื่อดัง 8 ปี
ได้รับการประเมินผลงาน ระดับเกรด A ทุกปี
มีความรู้รอบตัวหลากประเภท และรักการอ่าน
ผ่านการตรวจงานพิสูจน์อักษรหนังสือ งานวิจัย นวนิยาย ฯลฯ มากกว่า 300 เล่ม
สามารถตรวจทานแก้ไขประโยค รีไรต์งานได้ ตามแต่ตกลง
ส่งงานตรงตามเวลา ไว้ใจเรื่องคุณภาพของงานได้ค่ะ

หมายเหตุ* ระยะเวลาการตรวจงาน ขึ้นกับจำนวนหน้า
และคิวงานตรวจ โดยทั่วไป ใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์
รับรองความพึงพอใจโดยลูกค้าที่ใช้บริการ
กลับมาใช้บริการซ้ำอีกครั้ง หมดปัญหาคำผิดในงานวิจัย ไม่โดนอาจารย์แก้ซ้ำแน่นอน
ประหยัดเวลาให้คุณได้เป็นอย่างดี 


* สำหรับเรตราคาพิสูจน์อักษรภาษาไทย ปกติอยู่ที่หน้าละ 10-12 บาท font 16 pt.
ภาษาอังกฤษ (ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและความยากง่ายค่ะ ถ้ามีปรับแก้ประโยคด้วย)
หรือถ้าลูกค้ามีงบประมาณเท่าไร แจ้งได้ค่ะ หน้าที่มีอักษรไม่กี่ประโยค
หรือมีรูปภาพเกือบทั้งหน้า ไม่คิดเงินค่ะ ถ้าเหมาเป็นเล่ม ต่อรองราคากันได้
เราคุยง่ายค่ะ ทักมาสอบถามพูดคุยขอบเขตงานกันก่อนได้ค่ะ ไม่จ้าง
ไม่เป็นไรนะคะ 😀 *

ขอบเขตของงานพิสูจน์อักษร คือ ตรวจคำผิด ดูความสละสลวยประโยค แก้การใช้คำฟุ่มเฟือย เรียบเรียง สลับคำให้สละสลวย ดูการเว้นวรรค การใช้เครื่องหมาย ฯลฯ *ไม่ได้รับจัดหน้านะคะ*

โดยมีลักษณะการตรวจทั้งหมด 3 รูปแบบ

1. ตรวจแก้ไขในไฟล์เวิร์ด โดยทำสัญลักษณ์เป็นอักษรสีแดงในส่วนที่แก้ไข

2. ตรวจแก้ไขไฟล์ pdf. ใน Adobe acrobat ทำโน้ต และไฮไลต์
ลูกค้านำไปอ่านและแก้ไขตามที่โน้ต (วิธีนี้แนะนำค่ะ เนื่องจากไม่มีปัญหา
เรื่องการใช้เวิร์ดคนละเวอร์ชัน และการจัดหน้า) ส่วนมากลูกค้าที่เป็นนิตยสาร
และสำนักพิมพ์ จะเลือกวิธีนี้

3. ส่งงานเป็นกระดาษมาให้สิรินัดดาที่บ้าน
(ลูกค้าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดส่งค่ะ)

ลูกค้าสามารถคุยเรื่องงบฯ ที่ลูกค้ามีได้ค่ะ เรื่องนี้ไว้ใจได้
เราไม่เคยเอาเปรียบลูกค้า อ่านได้จากคอมเมนต์ด้านล่าง
ที่ลูกค้าส่งให้เรานะคะ หากคิดว่าราคาสูงไป ผ่านได้เลยค่ะ ไม่เป็นไร 😀
สำหรับเรา งานตรวจคำผิดไม่ใช่งานที่ทุกคนทำได้ ถ้าหากติดต่อมาบ่นว่าแพงไป
ในวงการนี้ยังมีฟรีแลนซ์อีกหลายคนค่ะ ราคาหน้าละ 5 บาทก็มี ขึ้นอยู่กับลูกค้าเลือก
จะได้ไม่เสียความรู้สึกกัน บางครั้ง บางคนต้องการงานด่วน เรายังไม่รับเลยค่ะ
เราทำตามคิว และใช้เวลาเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด ไม่รับงานซ้อนกัน

ตัวอย่างคอมเมนต์จากลูกค้า

27066802_10155402475283719_3764606196486726856_n

ขอบคุณนะคะ 😀 คำชมจากลูกค้าเป็นสิ่งที่เราปลื้มใจเสมอ

28472038_10155512795628719_2913949297348811295_n

ลูกค้าอยากเลี้ยงข้าวเลยค่ะ 😀 เป็นลูกค้างานวิจัย ป.โท ที่จ้างตรวจงานกันหลายรอบมาก งานผิดมากแค่ไหน ก็รับมือไหว

26734252_10155402475298719_2596763453199090258_n

คุณ ลินอลิน นักเขียนที่น่ารักและเขียนนิยายสนุก ควรค่าแก่การอ่าน ก็ใช้บริการ สิรินัดดา 😀

28576856_10155512795798719_8778999482625028604_n

ว้าว จองตัวเลยทีเดียว

22046805_10155133277598719_7742617177233323677_n

แม้จะไม่เคยเรียนกฎหมายมาก่อน แต่ก็จัดการไหว 😀

22008325_10155133277593719_6430509838243661250_n

ตรวจตำรากฎหมาย 400 หน้า ได้รับคำชมจากลูกค้า

25497996_10155320942518719_3045606500552042331_n

เราก็มีความสุขทุกครั้ง เวลาคุยกับลูกค้าค่ะ

28472273_10155512795643719_3988471410034992588_n

สำนักพิมพ์ขอจองคิวเลยค่ะ ^^ ตรวจหลายเล่มจนตอนนี้ เป็นลูกค้าประจำกันแล้ว ลดราคาให้รัว ๆ

28576066_10155512795638719_1131600001593627796_n

คำชมเชยจากลูกค้า เป็นเครื่องพิสูจน์ผลงานได้อย่างดีเลยค่ะ

ตี 4 ก็ยังทำงาน เป็นห่วงงานนะคะ ^^ เดดไลน์สบาย ๆ ค่ะ

13718748_10153871031373719_6190827267741828966_n

งานวิจัย 100 หน้า คิดราคาแค่ 1,000 บาท ลูกค้าเพิ่มเงินให้เฉยเลย ^^

22050083_10155133277583719_5807308802001377423_n

งานเสร็จค่อยโอนเงินนะคะ ลดให้ลูกค้า ก็ไม่ยอม โอนเต็มจำนวนมาตลอด ขอบคุณนะคะ

13709822_10153871031308719_3297843425351646108_n

ใช้บริการครั้งที่สองแล้วค่ะ จากลูกค้าที่น่ารัก ^^

13715966_10153878258313719_2642409827752013497_n

ขอบคุณมากค่ะที่ไว้ใจให้ตรวจงานวิทยานิพนธ์ 😀

14064116_10153958113723719_6116176707836650537_n

ตรวจงานหนังสือให้น้องคนหนึ่ง รับรองคุณภาพค่ะ 😀 ผิดเยอะแค่ไหน เราก็จัดการได้

14045972_10153958113953719_5750106263141915621_n

ลูกค้าเรียกใช้บริการซ้ำ เพราะพึงพอใจคุณภาพงาน หมดปัญหาคำผิดในหนังสือ

img_0026

ลูกค้ายอมจ่ายแพงขึ้น สำหรับงานด่วน เพราะประทับใจความละเอียด ^^

ใช้บริการรอบที่ 4 แล้วค่ะ สำหรับ สนพ.นี้ ^^

ตัวอย่างผลงานฟรีแลนซ์ที่ผ่านมา

– ตรวจสารนิพนธ์ ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ตรวจวิทยานิพนธ์ ให้นักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอื่น ๆ
– ตรวจนิทานสำหรับเด็ก ให้สำนักพิมพ์ Aksara For Kids 2 เล่ม
– ตรวจหนังสือธรรมะ
– ตรวจงานวิจัยให้นายตำรวจท่านหนึ่ง 3 เล่ม
– ตรวจหนังสือ E-Book เรื่องวัยรุ่น GenY พลิกชีวิตจากความคิด วิชาชีวิตก่อนเรียนจบ
– ตรวจงานวิจัย สำหรับทำ รศ. ด้านนาโนเทคโนโลยี
– ตรวจงานวิจัยด้านแอนิเมชัน
– ตรวจหนังสือเรื่อง คุณแม่จากขอบฟ้ากระต่าย

– ตรวจหนังสือให้ สนพ. วารา พับบลิชชิ่ง
เช่น คู่มือข้างหมอน, ต่อกรกับวายร้ายตัวน้อย, The Palace บันทึกวังหลวง
สวนสัตว์เบื่อโลก, Perfect Remains สยอง, พวกเราไม่ได้ป่วย,
เลี้ยงลูกให้ถูก ตอน 3 ปี ลูกจะทำดีไปตลอดชีวิต, คู่มือเตรียมสอบนักวิเคราะห์นโยบาย
และแผนปฏิบัติการ, คู่มือฝึกจัดการเวลาสำหรับเด็ก, คนเก่งจริงจะไม่พ่ายแพ้ต่ออารมณ์
การข่มขู่ทางอารมณ์, ชานไห่จิง คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล, ฉันไม่ชอบทั้งโลก
ฉันชอบแค่เธอคนเดียว ฯลฯ
– ตรวจงานวิจัยด้านปิโตรเคมี
– ตรวจนิตยสารท่องเที่ยว Vacationist ทุกเดือน
– ตรวจตำราเรียนวิศวกรรม
– ตรวจตำรากฎหมาย
– ตรวจวิจัยกฎหมาย
– ตรวจตำราสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา
– ตรวจรวมฎีกา, อาญา, กฎหมายเยาวชน
– ตรวจฟรีแลนซ์ให้นิตยสารลิปส์
– ตรวจหนังสือองค์กรต่าง ๆ
– ตรวจ Ad ของนิตยสาร Vogue Thailand
– ตรวจงานของกรมการท่องเที่ยว
– ตรวจ E-book Sisi จักรพรรดินีผู้เป็นตำนาน

– ตรวจเว็บไซต์ KTAM ธนาคารกรุงไทย
– ตรวจงานของ Alibaba, Ctrip

ฯลฯ

บริการด้วยใจ ราคามิตรภาพ

หรือหากมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย ไลน์มาคุยกันได้นะคะ
แค่สอบถามพูดคุยกันก็ยินดีมาก ๆ แล้วค่ะ

ป.ล. รับงานเพราะคิดว่ามั่นใจในความรู้ ความสามารถของตัวเอง
และต้องการช่วยคนที่ไม่มีเวลาตรวจทานงาน งานทุกชิ้น ใช้เวลาหลังจากเสร็จงานประจำ มั่นใจเรื่องคุณภาพของงานได้ค่ะ เราเชื่อว่า ความรู้ของเรา จะช่วยประหยัดเวลาให้คุณได้

งานดี งานถูกต้อง ราคามิตรภาพ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้ภาษาไทยได้ที่ ภาษาไทยน่ารู้
อ่านเพิ่มเติม เรื่องราวการเป็นพิสูจน์อักษรของเราได้ที่  พิสูจน์อักษรสตอรี่

รับพิสูจน์อักษร

อัปเดต ปี 2566 ติดต่องานพิสูจน์อักษรได้นะคะ ยังรับงานอยู่ค่ะ 😀
ดูผลงานที่ผ่านมาของเราได้ด้านล่างนะคะ

Sirinadda's World

อัปเดต 1 มีนาคม 2561 – ยังรับงานอยู่นะคะ ติดต่อมาได้ 😀

28379061_10155512795768719_603177527785384047_n คำขอบคุณจาก ลินอลิน นักเขียนสาวสวย เจ้าของผลงานนวนิยายขายดี “เพียงรักมหาศาล”

หากใครกำลังมองหา “นักพิสูจน์อักษร” เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของภาษา
อักษร คำทับศัพท์ การใช้คำทุกชนิด รวมถึงเรียบเรียงให้สละสลวย และอื่น ๆ ฯลฯ
ไม่ว่าจะเป็นต้นฉบับนวนิยาย หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย แผ่นพับ โฆษณา
หรืองานใดก็ตามที่ต้องการความถูกต้อง แม่นยำทางภาษา

ติดต่อได้ที่

Line id : sirinadda-y  (ช่องทางที่เร็วที่สุด)

Facebook : Yungie Sirinadda

E-mail : sirinaddaa@gmail.com 

พิสูจน์อักษร โดย นักพิสูจน์อักษรมืออาชีพ ศึกษาด้านภาษาไทย
(เกียรตินิยมเหรียญทอง รางวัลทุนภูมิพล) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์การทำงานพิสูจน์อักษรในองค์กรสื่อชื่อดัง 6 ปี
ได้รับการประเมินผลงาน ระดับเกรด A ทุกปี
มีความรู้รอบตัวหลากประเภท และรักการอ่าน
ผ่านการตรวจงานพิสูจน์อักษรหนังสือ งานวิจัย นวนิยาย ฯลฯ มากกว่า 200 เล่ม
สามารถตรวจทานแก้ไขประโยค รีไรต์งานได้ ตามแต่ตกลง
ส่งงานตรงตามเวลา ไว้ใจเรื่องคุณภาพของงานได้ค่ะ

หมายเหตุ* ระยะเวลาการตรวจงาน ขึ้นกับจำนวนหน้า
และคิวงานตรวจ โดยทั่วไป ใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์
รับรองความพึงพอใจโดยลูกค้าที่ใช้บริการ
กลับมาใช้บริการซ้ำอีกครั้ง หมดปัญหาคำผิดในงานวิจัย ไม่โดนอาจารย์แก้ซ้ำแน่นอน
ประหยัดเวลาให้คุณได้เป็นอย่างดี 


* สำหรับเรตราคาพิสูจน์อักษร ปกติอยู่ที่หน้าละ 10 บาท font 16 pt.
หรือถ้าลูกค้ามีงบประมาณเท่าไร แจ้งได้ค่ะ หน้าที่มีอักษรไม่กี่ประโยค
หรือมีรูปภาพเกือบทั้งหน้า ไม่คิดเงินค่ะ
ถ้าเหมาเป็นเล่ม ต่อรองราคากันได้
เราคุยง่ายค่ะ ทักมาสอบถามพูดคุยขอบเขตงานกันก่อนได้ค่ะ ไม่จ้าง
ไม่เป็นไรนะคะ 😀 *

ขอบเขตของงานพิสูจน์อักษร คือ ตรวจคำผิด ดูความสละสลวยประโยค แก้การใช้คำฟุ่มเฟือย เรียบเรียง สลับคำให้สละสลวย ดูการเว้นวรรค การใช้เครื่องหมาย ฯลฯ *ไม่ได้รับจัดหน้านะคะ*

โดยมีลักษณะการตรวจทั้งหมด 3 รูปแบบ

1. ตรวจแก้ไขในไฟล์เวิร์ด โดยทำสัญลักษณ์เป็นอักษรสีแดงในส่วนที่แก้ไข

2. ตรวจแก้ไขไฟล์ pdf. ใน Adobe acrobat ทำโน้ต และไฮไลต์
ลูกค้านำไปอ่านและแก้ไขตามที่โน้ต (วิธีนี้แนะนำค่ะ เนื่องจากไม่มีปัญหา
เรื่องการใช้เวิร์ดคนละเวอร์ชัน และการจัดหน้า) ส่วนมากลูกค้าที่เป็นนิตยสาร
และสำนักพิมพ์ จะเลือกวิธีนี้

3. ส่งงานเป็นกระดาษมาให้สิรินัดดาที่บ้าน
(ลูกค้าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดส่งค่ะ)

ลูกค้าสามารถคุยเรื่องงบฯ ที่ลูกค้ามีได้ค่ะ เรื่องนี้ไว้ใจได้
เราไม่เคยเอาเปรียบลูกค้า อ่านได้จากคอมเมนต์ด้านล่าง
ที่ลูกค้าส่งให้เรานะคะ หากคิดว่าราคาสูงไป ผ่านได้เลยค่ะ ไม่เป็นไร 😀

View original post 248 more words

พิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์ ตอนที่ 3

สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลังห่างหายจากการเขียน blog ไปนาน วันนี้เรามีเรื่องราวเกี่ยวกับการเป็นพิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์มาเล่าให้ฟัง (อ่าน) กันค่ะ แต่ไม่รับประกันความสนุกนะคะ (ฮา)

หลังจากที่เรารับงานฟรีแลนช์เต็มตัวมาได้ราว 1 ปี มีลูกค้าหลากหลายมากค่ะ ทั้งนักศึกษา อาจารย์ สำนักพิมพ์ บุคคลทั่วไป รวม ๆ แล้ว 20 กว่าคนได้ ที่ทั้งจ้างต่อเนื่อง และไว้ใจเราให้ตรวจงานสำคัญ ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ คุณทำให้เราเก่งขึ้นอีกขั้นหนึ่งค่ะ …

อะ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า หลังจากเรารับงานมาได้สักระยะ ก็มีลูกค้าคนหนึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยชื่อดังอันดับหนึ่ง ศึกษาในคณะกฎหมาย ติดต่อให้เราตรวจหนังสือของเขาค่ะ ตกลงราคากันเรียบร้อย เขาก็ส่งสัญญามาให้เราเซ็น เราก็อ่านดู ใจความหลักคือ ห้ามเผยแพร่งานของเขา และไม่มีการเรียกเก็บค่าตรวจเพิ่มเติมเด็ดขาด ซึ่งเราก็โอเคนะคะ เนื่องจากเรามีจรรยาบรรณอย่างสูงอยู่แล้วค่ะ เราไม่มีทางเปิดเผยความลับ หรือผลงานของลูกค้า แต่ !!! มาสะดุดกับด้านท้ายของสัญญา… ถ้ามีการผิดข้อตกลง ต้องจ่ายค่าเสียหาย 20 ล้านบาท !!!! 

เซนเซอร์ชื่อหนังสือ และชื่อคนแต่งเรียบร้อยแล้วนะคะ

 

แลกกับเงินค่าตรวจ 800 บาท นี่ไม่คุ้มเลยนะคะ (ฮา) เราก็เลยแอบสวดลูกค้าไปนิดหน่อย ลูกค้าถามเราว่า ถ้าเราไม่ได้คิดจะผิดสัญญา จะกลัวทำไม… เราก็เลยตอบไปว่า สัญญาคุณมีช่องโหว่ “ห้ามดาวน์โหลดลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์” แล้วดิฉันจะทำงานยังไงเล่าคะ? ยังไงก็ต้องโหลดลงเครื่องเพื่อตรวจงาน และอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าเกิดงานมันไปหลุดตอนที่ส่งให้คุณแล้ว เราจะไว้ใจได้ยังไงคะว่าคุณจะไม่หักหลังเรา มาเรียกค่าเสียหายจากเรา แม้ว่าศาลจะไม่ให้จ่ายถึง 20 ล้านก็เถอะ! ซึ่งหลังจากพูดคุยกัน ทางลูกค้าจะแก้สัญญาตรงดาวน์โหลดลงเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ แต่เราเสียความรู้สึกไปแล้วค่ะ… เลยตัดสินใจไม่รับงานดีกว่า ปรึกษาเพื่อนที่เป็นทนายมันก็บอกว่าโหดเกินไป ที่สำคัญไม่คุ้มเลยค่ะระหว่างความเสี่ยงกับค่าจ้างที่ได้รับ

ไม่แน่นะคะ ตอนนี้ผลงานของเขาอาจจะกำลังโด่งดัง หรือกอบกู้โลกได้แล้วก็เป็นไปได้!

ซีเรียสไหมคะ คุณผู้อ่าน แค่เรื่องแรกเอง มาต่อกันที่เรื่องที่สองดีกว่า อันนี้มาสไตล์ขำ ๆ กันบ้าง

หลังจากที่เราประกาศรับงานพิสูจน์อักษร และให้ไลน์ไอดี อีเมล กับผู้ที่สนใจงานด้านนี้ หรือปรึกษาเรื่องต่าง ๆ ก็มีทั้งพี่ ๆ น้อง ๆ ที่น่ารักหลายคนค่ะ ที่เป็นพิสูจน์อักษร หรือเพิ่งเริ่มทำงาน สอบถามความรู้บางประการเกี่ยวกับคำต่าง ๆ บ้างก็แลกเปลี่ยนเรื่องอาชีพพิสูจน์อักษร บ้างก็ชอบบทความของเรา บางคนก็กลายเป็นกัลยาณมิตรกันเลยทีเดียวค่ะ ทำขนมส่งมาให้เราแทนคำขอบคุณบ้าง ซึ่งเราขอขอบคุณสำหรับข้อความมากมายที่ส่งมานะคะ แต่ก็มีบ้างบางคนที่เราไม่ได้ตอบ ไม่ใช่ว่าหยิ่งอะไรนะคะ แต่เราไม่มีเวลา หรือบางเรื่องเราก็อธิบายใน blog ไว้แล้ว …

วันหนึ่งที่เราเจอคือ มีผู้หญิงคนหนึ่งส่งข้อความมาว่า

“พี่ค่ะ แบ่งงานให้หนูหน่อย หนูอยากเป็นพิสูจน์อักษรคะ”

…. 

เห็นอะไรในข้อความนี้ไหมคะ คุณผู้อ่าน … นี่ไม่ใช่การประจาน เพียงแต่ว่า น้องยังใช้คะ ค่ะ ยังไม่ถูกต้องเลย จะให้พี่แบ่งงานอะไรให้คะ? งานนี้ยังไม่เหมาะกับน้อง แต่เราก็ไม่กล้าที่จะพิมพ์ตอบไปแบบนั้น เลยเลือกที่จะเงียบดีกว่า .. หรือมีอีเมลส่งมา สมัครงานพิสูจน์อักษร กับเรา…

“พี่คะ หนูอยากทำงานนี้ นี่เป็นตารางเรียนเทอมหน้าของหนู” แนบไฟล์มาให้เสร็จสรรพ…เดี๋ยวนะคะ ตรงไหนที่พี่บอกว่า พี่รับสมัครงาน พี่ “รับพิสูจน์อักษร” ค่ะ และอธิบายรายละเอียดราคาไว้หมดแล้ว ถ้าน้องยังไม่ยอมอ่านจนจบ หรืออ่านแค่ผ่าน ๆ ไม่ตีความ น้องก็ยังไม่เหมาะที่จะทำงานด้านนี้ …. (เช่นเคยค่ะ เราไม่กล้าที่จะพิมพ์ตอบไปเช่นนั้น เลยเลือกที่จะเงียบดีกว่า)

หรือบางคนแอดมาปรึกษาค่ะ ว่าอยากทำงานด้านนี้ ควรทำยังไง เมื่อเราแนะนำไป และถามเขาว่า เคยมีประสบการณ์ด้านนี้หรือชอบอ่านหนังสือไหมคะ เขาตอบเราว่า “ดิฉันเป็นครูภาษาไทยค่ะ ออกข้อสอบ…ทุกปี มั่นใจมากว่ามีความรู้มาก ๆ” ท่าทีที่มั่นใจในตัวเองสูง เราเชื่อว่าเขาน่าจะมีความรู้มากกว่าคนจบเกียรตินิยมภาษาไทยเหรียญทองแบบเราแน่ ๆ ค่ะ เพราะเราไม่เลือกอาชีพครู เราลืมทางด้านเนื้อหาไปเยอะทีเดียว …แต่เราก็ไม่อยากขัดคุณครูนะคะ การเป็นครูใช่ว่าจะเป็นนักพิสูจน์อักษรกันได้ดีทุกคน …เพราะครูก็มีหลายแบบค่ะ คนที่เป็นนักพิสูจน์อักษรได้ดีสำหรับเรา คือนักอ่าน และช่างสงสัยค่ะ … (เราเลยเลือกที่จะเงียบ เพราะไม่กล้าตอบไป)

บางทีเราก็เป็นคนตรงเหมือนกัน แต่บางอย่างก็ไม่สามารถตอบได้ทุกอย่างดังใจคิด เพื่อรักษาน้ำใจคนที่เขาอุตส่าห์อยากหวังพึ่งเรา …

ชักจะเครียดแล้วไหมคะ คุณผู้อ่าน 😑 ยังมีอีกหลายเรื่องราวเลยค่ะ ที่อยากจะเล่าเป็นประสบการณ์ ที่มีทั้งเครียด ขำขัน ครบรส… ไว้มาติดตามตอนต่อไปกับพิสูจน์อักษรสตอรี่นะคะ

 

จนกว่าจะพบกันใหม่

สิรินัดดา 

ติดต่องานพิสูจน์อักษรได้ที่
Line id : sirinadda-y (ช่องทางที่ไวที่สุด)
Facebook : Yungie Sirinadda
E-mail : sirinaddaa@gmail.com

สุขสันต์วันสงกรานต์

สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่าน…ยังมีใครอ่าน blog เราบ้างหรือเปล่านะ ?
หายไปยาวนาน 8 เดือนเต็ม กำลังจะกลับมาเขียนในเร็ว ๆ นี้นะคะ
ที่หายไปเพราะงานยุ่งมาก มีงานให้ตรวจเยอะมากทีเดียวค่ะงานตรวจพิสูจน์อักษร ยังรับอยู่นะคะ ติดต่อมาได้เรื่อย ๆ เลยค่ะ
ที่ Line ID : sirinadda-y หรืออีเมลสอบถามราคา พูดคุยกันได้ที่
sirinaddaa@gmail.com

 

ขอบคุณที่ผ่านมาอ่าน Blog เล็ก ๆ ของเรานะคะ
เผลอแป๊บเดียว 6 ปี มีคนกดเข้ามาอ่านตั้ง 600,000 กว่าครั้ง
แล้วพบกันใหม่ใน blog ตอนหน้านะคะ
อ้อ สุขสันต์วันสงกรานต์ 2560 ค่ะ

 

สิรินัดดา

Postcard from Nowhere…กี่ฟ้าที่ฉันไปเจอ สู้เธอไม่ได้

‘เจี๊ยบ วรรธนา’ ชื่อนี้การันตีคุณภาพ

เจี๊ยบ วรรธนา วีรยวรรธน เป็นชื่อที่เราคุ้นเคยตั้งแต่เด็ก (ราว ม.ต้น ที่ฟังเพลงของเธอ ผ่านคลื่นกรีนเวฟ ที่มักจะเปิดเพลงไพเราะเก่า ๆ เสมอ) เธอเป็นนักร้องที่มีน้ำเสียงเป็นเอกลักษณ์ และเป็นนักแต่งเพลง ที่ความหมายกินใจแทบทุกเพลง ที่เราชื่นชอบ อาทิ ขอบฟ้า, เก็บไว้ให้เธอ, เส้นทางนี้ ฯลฯ หรือเพลง ‘คิดถึง’ ของไบรโอนี่ ที่มีเนื้อเพลงฟีลกู้ด พรรณนาถึงลมฟ้า ฟังแล้วรื่นรมย์หัวใจ หากมอบเพลงนี้ให้ใคร เขาคงเชื่อเต็มอกว่า เราคิดถึงเขาจริง ๆ

ในยุคต่อมา เมื่อเราเริ่มโตขึ้นมาอีกหน่อย ก็จะได้ฟังเพลง อาทิ เพราะใจ, วัน เดือน ปี, 10 things เพลงที่คนอยากไปทะเลมักเปิดฟัง, keep going นอกจากเพลงที่แต่งเองส่วนมากแล้ว ยังมีเพลงที่นำมาคัฟเวอร์ อาทิ กลับมาสักครั้ง ต้นฉบับของ คุณเอ๋ นรินทร ณ บางช้าง ซึ่งเป็นบทเพลงที่เราชื่นชอบความหมายของมันมาก สมัย ป.6 ช่วงที่ต้องจากกับเพื่อน ถึงกับเขียนให้เพื่อนที่รักเลยทีเดียว แม้ทุกวันนี้เขาจะไม่เคยกลับมาหาเราเหมือนชื่อเพลง

เพลงอะไรจะเศร้าและเหงาได้ขนาดนี้

“Postcard from Nowhere” เป็นอีกบทเพลงหนึ่งที่เจ้าของบล็อกชื่นชอบ ได้ฟังครั้งแรกเมื่อปี 2012 และทุกครั้งที่ฟังก็จะรู้สึกเศร้า หรือวูบไหวในใจอย่างประหลาด เพลงนี้คุณเจี๊ยบแต่งให้กับสามีที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ในขณะที่ตอนนี้เธอเลี้ยงดูลูกสองคน และตั้งแต่นั้น เมื่อเราไปเที่ยวเพียงลำพัง ก็มักจะฟังเพลงนี้เสมอ ทุกครั้งที่มองท้องฟ้าสวย ๆ เราจะคิดถึงใครคนหนึ่ง “อยู่ในใจเสมอ กี่ฟ้าที่ฉันไปเจอ…สู้เธอไม่ได้” ช่างเป็นท่อนที่ไพเราะกินใจเหลือเกิน แม้ว่าจะเดินทางไปเจอกับท้องฟ้าสวยงามกี่ครั้งก็ตาม มันก็คงไม่เหมือนเวลาที่อยู่กับเธอ หรือถ้าเธอมาอยู่ด้วยกัน ฟ้าก็คงสวยกว่านี้…เราเคยเขียนประโยคนี้ส่งโปสการ์ดถึงใครคนหนึ่ง ตอนที่ไปเที่ยวทะเลลำพัง ด้วยความคิดถึง หลายเรื่องราวในบล็อกที่เราเขียน 40% ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากเขานี่แหละค่ะ แม้ว่าปัจจุบันเราจะมีแฟนแล้ว และเรื่องราวเหล่านี้ก็ค่อย ๆ สลายไปตามวันเวลา กลายเป็นเพียงความทรงจำที่ดี แต่เชื่อเถอะค่ะว่า ในชีวิตหนึ่ง เราทุกคนล้วนมีบทเพลงที่เป็น “ของใครสักคน” อยู่เสมอ

 

“บอกลูกแล้วนะ … ลูกเราแมนมากเลย 🙂
พวกเราน่าจะไหวกัน อย่าห่วงนะ
กลับบ้านมา มาร่ำลากัน แล้วกบก็เดินทางต่อให้สบาย
วันไหนที่เห็นว่าลูกเศร้า ก็คอยมาดูลูกบ้าง

….ไม่มีตรงไหนเลยที่เราไม่เห็นกบ
สงสัยเรื่องนี้ต้องหนักหนาแน่ ….

ฟ้าตรงไหนสวย .. ไปรอเราตรงนั้นนะ”

ข้อความจาก FB เจี๊ยบ วรรธนา ที่เขียนถึงสามี 

คลิกฟังเพลง Postcard from Nowhere ได้ที่นี่

10371541_10152829823648719_8836965941973755702_n

กี่ฟ้าที่ฉันไปเจอ…สู้เธอไม่ได้ (เกาะพยาม, ธันวาคม 2015)

 

มีสิ่งหนึ่งที่ยังไม่เคยหายไป เป็นสิ่งเดียวที่ฉันไม่เคยเข้าใจ
อยู่ไหนหรือทำอะไร ก็ยังเห็นภาพเธอชัดเจน อยู่ในทุกหนแห่ง
ที่ตรงนั้นที่ตรงขอบฟ้าไกล ที่ตรงนี้ที่ตรงทางรถไฟ
อยู่ไหนหรือทำอะไร ก็ยังเห็นภาพเธอชัดเจน มันทำให้เหงาใจ

ยังกลับไม่ได้ ไปต่อไม่ไหว มันคิดถึงเธอเกินไป
อยู่ไหนไม่รู้ เจอใครไม่เห็น มันจำได้ดีแค่เธอ
อยู่ในใจเสมอ กี่ฟ้าที่ฉันไปเจอสู้เธอไม่ได้

โปสการ์ดใบนี้จากขอบฟ้าไกล คงอีกนานที่มันจะไปถึงเธอ
ขีดเขียนเรื่องราวที่เจอ แค่อยากให้รู้ว่ายังรักเธอ แม้เราจะแสนไกล
กลับไม่ได้ ไปต่อไม่ไหว มันคิดถึงเธอเกินไป
อยู่ไหนไม่รู้ เจอใครไม่เห็น มันจำได้ดีแค่เธอ

ยังกลับไม่ได้ ไปต่อไม่ไหว มันคิดถึงเธอเกินไป
อยู่ไหนไม่รู้ เจอใครไม่เห็น มันจำได้ดีแค่เธอ
อยู่ในใจเสมอ กี่ฟ้าที่ฉันไปเจอสู้เธอไม่ได้
กี่ฟ้าที่ฉันไปเจอสู้เธอไม่ได้…ฟ้าทุกฟ้าที่เจอ…

 

แด่เธอ, ผู้มีรอยยิ้มสวยกว่าท้องฟ้าใด ๆ 

สรรค์สร้าง vs สรรสร้าง

สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านที่รัก บล็อกตอนนี้ยังคงเกี่ยวกับคำไทย ๆ น่ารู้เช่นเคยค่ะ
คำที่นำมาเสนอวันนี้  ได้แก่ คำว่า “สรรค์สร้าง” เอ๊ะ…หรือ “สรรสร้าง” กันแน่นะ
เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านที่กำลังอ่านบล็อกของสิรินัดดาตอนนี้ ก็คงเข้าใจสับสนเหมือนกัน
ว่าจริง ๆ แล้ว คำนี้เขียนอย่างไรกันแน่ แล้วมันเหมือนคำว่า “สร้างสรรค์” ที่เราคุ้นชินกันหรือไม่ แต่ก่อนจะเข้าเรื่องราวดังกล่าว อาจต้องเปลี่ยนชื่อบล็อกตอนนี้ใหม่ว่า…

google ไม่ได้มีข้อมูลถูกต้องทุกอย่างที่คุณค้นหา !

เพราะเมื่อสิรินัดดาลองค้นกูเกิล เจ้าเว็บไซต์ใจถึงพึ่งได้ ก็พบข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการให้คำอธิบาย คำว่า สรรค์สร้าง หลายเว็บทีเดียว ที่ติดอันดับ 1-5 ในหน้าแรก บางเว็บเป็นข้อมูลที่เขียนขึ้นตั้งแต่ปี 2552 ! ซึ่งนับเป็นข้อมูลเก่าและให้คำอธิบายที่ผิดพลาด อาจเพราะ ณ เวลานั้น พจนานุกรมเล่มใหม่ยังไม่อัปเดต จึงทำให้ผู้เขียนเข้าใจคลาดเคลื่อนได้

เว็บไซต์ที่ติดอันดับกูเกิลหน้าแรก อธิบายคำว่า สรรค์สร้าง ไว้ว่า…

สรรค์สร้าง การเขียนที่ถูกต้องคือสรรสร้างคือ ไม่มีค์ต่อหลังสรรเพราะโดยแท้จริงผู้ที่เข้าใจถูกต้องจะใช้คำนี้โดยสื่อว่าสรรนั่นคือ การหามา รวบรวมมา แล้วนำมาสร้าง ซึ่งความหมายจะแตกต่างจากคำว่า “สร้างสรรค์”

แต่ความจริงแล้ว สรรค์สร้าง ที่ถูกต้อง สะกดแบบนี้ค่ะ สรรค์ ค.ควาย การันต์ + สร้าง 

เราลองมาพิจารณาคำและความหมายจากพจนานุกรม พ.ศ. 2554 กันค่ะ

สร้างสรรค์ เป็นคำกริยา หมายถึง การสร้างให้มีให้เป็นขึ้น (มักใช้ทางนามธรรม)
สรรค์ [สัน] ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สร้าง เป็น สรรค์สร้าง หรือ สร้างสรรค์ 

13781752_10153891268923719_3629091408284227843_n

สร้างสรรค์ หมายถึง การสร้างให้มีให้เป็นขึ้น

13626453_10153891268998719_3283278764060053404_n

ความหมายของ สรรค์ จากพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ พ.ศ. 2554

เมื่อพิจารณาจากคำและความหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่า สร้างสรรค์ และสรรค์สร้าง
มีความหมายเหมือนกันค่ะ เพียงแค่สลับคำกัน หมายถึง การสร้างให้มีให้เป็นขึ้น
แต่อาจใช้ในบริบทที่ต่างกัน และการใช้คำว่า “สรรค์สร้าง” ฟังดูแล้วเก๋ ดูเป็นคำสวย ๆ
แต่ความหมายเหมือนกับสร้างสรรค์ และสะกดที่ถูกต้องว่า “สรรค์สร้าง” ค่ะ

เห็นข้อดีข้อเสียของ google กันบ้างหรือยังคะ ?

หลายครั้งที่เราใช้ google ค้นหาข้อมูล คำตอบต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วทันใจ
เพียงแค่คลิก แล้วดูที่เว็บไซต์อันดับแรก ๆ ก็เชื่อว่านั่นคือคำตอบที่ถูกต้อง
จริงอยู่ว่า google ช่วยเราได้ในหลาย ๆ เรื่อง แต่กับ การสะกดคำ การใช้คำที่ถูกต้อง
google ไม่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่เราได้ทั้งหมด เช่น เราเคยสงสัยว่า ทำไม
นักข่าวคนหนึ่งถึงเขียนคำคำหนึ่งมาแบบนี้ เขาตอบเราว่า “เห็นใน google มีแต่คำนี้”
เราก็ได้แต่ยิ้ม…เพราะว่าคนใช้ผิดกันจนชินน่ะสิ google เลยเก็บคำผิดไว้

ดังนั้น สละเวลาในการค้นหาสักนิด หรือเปิดพจนานุกรมสักหน่อย
แล้วคุณจะพบว่า เสน่ห์ของการค้นหาข้อมูลในหนังสือ มันยังมีมากล้นจริง ๆ.
จนกว่าจะพบกันใหม่

สิรินัดดา

ติดต่องานพิสูจน์อักษรภาษาไทย, พิสูจน์อักษรภาษาอังกฤษ
รีไรต์ ปรับแก้ภาษา งานแปลภาษา
ได้ที่

Line ID : sirinadda-y  (ช่องทางที่เร็วที่สุด)

E-mail :  sirinaddaa@gmail.com

พิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์ ตอนที่ 2

สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่าน หลังจากเขียนเล่าเกี่ยวกับการทำงานพิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์ในตอนที่ 1 พิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์ มีพี่ที่ทำงานทางด้านพิสูจน์อักษรอีเมลมาคุยด้วย และสนใจการทำงานพิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์ เอ่ยชมที่เราเปรียบอาชีพการพิสูจน์อักษรว่าเหมือนกับ การปิดทองหลังพระ ซึ่งขอบคุณมาก ๆ นะคะ ที่เข้ามาพูดคุยกัน เพราะเราคือเพื่อนร่วมสายงาน รวมถึงใครก็ตามที่รักงานนี้ คงเข้าใจความหมายของการทำงานปิดทองหลังพระเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ยังมีน้องคนหนึ่งแอดไลน์มาปรึกษาว่าอยากทำงานพิสูจน์อักษร ต้องทำอย่างไรบ้าง ในตอนที่ 2 นี้ จึงมีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกันค่ะ แต่ออกตัวไว้ก่อนนะคะว่า เราเองก็เพิ่งกระโจนเข้าวงการฟรีแลนซ์ได้ไม่กี่เดือนเท่านั้น เพราะมีงานพิสูจน์อักษรประจำวัน (ที่ตรวจงานเยอะมากในแต่ละวัน แต่จบภายในวันนั้น ๆ) เพียงแต่ช่วงนี้อยากมีรายได้พิเศษ จึงรับงานเพิ่มเข้ามา ซึ่งก็มีมาเรื่อย ๆ เลยค่ะ ขอบคุณลูกค้าที่ไว้วางใจให้ตรวจงานสำคัญนะคะ งานทุกชิ้นมีความหมายกับเรา เพราะมันทำให้เรารู้คุณค่าของเงินมากขึ้น และการได้เห็นงานเขียนของใครคนหนึ่งไม่มีข้อผิดพลาด เป็นความสุขของเราอย่างหนึ่งค่ะ

สำหรับผู้ที่สนใจรับงานพิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์ กรณีผู้ไม่มีประสบการณ์มาก่อน

 1. ต้องมั่นใจว่าคุณมีความละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกต และช่างสงสัย
         เพราะงานพิสูจน์อักษร ไม่ใช่แค่ตรวจตัวสะกดแล้วจบกัน แบบนั้น
ใคร ๆ ก็ทำได้ แค่คุณดาวน์โหลดแอปพจนานุกรมในมือถือมาเปิดดู
แต่มันยังหมายรวมถึงการตรวจเนื้อหา คำไม่สละสลวย การเรียงประโยค
คำฟุ่มเฟือย ข้อมูลบางอย่างที่ควรตรวจสอบด้วย เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของพิสูจน์อักษรได้ที่นี่
พิสูจน์อักษร

2. ติดต่อสอบถามไปยังสำนักพิมพ์ที่คุณสนใจร่วมงาน
          อาจเริ่มจากสำนักพิมพ์เล็ก ๆ หรือแนวหนังสือที่คุณชอบก็ได้ค่ะ
โดยติดต่อสอบถามว่ารับพิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์หรือไม่
คุณมีความสนใจที่จะทำงานด้านนี้ ถ้าเขารับ ก็อาจจะลองให้เขาส่งงานมา
ทดลองตรวจก่อนก็ได้ ถ้าเขาเห็นว่าคุณมีฝีมือ ก็อาจจะได้งาน ซึ่งโดยทั่วไป
ช่วงที่งานชุกชุม คือช่วงก่อนสัปดาห์หนังสือแห่งชาติค่ะ
เป็นช่วงที่ สนพ.ต่าง ๆ จะเร่งผลิตหนังสือจำนวนมาก
อาศัยจังหวะนี้แหละค่ะในการเริ่มต้นงานพิสูจน์อักษร เนื่องจาก
บางครั้งพนักงานพิสูจน์อักษรประจำอาจทำงานไม่ทัน ซึ่งหากยิ่งเร่ง
ทำด้วยแล้ว ข้อผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ บางสำนักพิมพ์จึงอาจมองหา
พิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์ในช่วงเร่งด่วนนี้

3. ทำให้ตัวเองเป็นที่รู้จักในโลกออนไลน์, ใส่คำค้นให้ผู้จ้างค้นหาคุณพบ
เช่น การเขียน blog ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยที่คุณมี
ความสนใจงานพิสูจน์อักษร, มุมมองต่องานพิสูจน์อักษร,
ประกาศรับงานพิสูจน์อักษร, จัดทำเพจเฟซบุ๊กรับงาน เป็นต้น
โดยใส่ tag หรือคำค้นเพื่อให้ผู้จ้างงานหาคุณเจอ
เช่น ใส่คำค้นในงานเขียนว่า พิสูจน์อักษร, รับพิสูจน์อักษร
รับตรวจปรู๊ฟ เป็นต้น กรณีของเราเริ่มจากข้อ 3 นี่แหละค่ะ
ถึงมีผู้จ้างงานหาเราพบ คุณเองก็เจอเรา จากการเสิร์ช
google ใช่มั้ยคะ?

4. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานพิสูจน์อักษรโดยตรง
นอกจากพจนานุกรมที่เป็นคัมภีร์สำคัญแล้ว พิสูจน์อักษรจำเป็นต้อง
ทราบหลักเกณฑ์การทับศัพท์ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษไว้ด้วย
รวมถึงการใช้วรรคตอน การเว้นวรรคเครื่องหมายต่าง ๆ
ของราชบัณฑิตยสภา ซึ่งเป็นหลักอ้างอิงสำคัญของนักพิสูจน์อักษร
โดนสามารถศึกษาได้จากลิงก์นี้
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
หลักเกณฑ์การเว้นวรรค

นี่ก็เป็นข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ จากใจคนทำงานพิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์ค่ะ
สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ หรือนักศึกษาเรียนจบใหม่ อาจจะยากสักนิดนึง
เนื่องจากสำนักพิมพ์โดยส่วนมาก มักจะไว้ใจฝีมือพิสูจน์อักษรหน้าเก่า
ซึ่งเคยร่วมงานกันแล้วหลายครั้ง  ดังนั้น สิ่งที่ควรทำคือ หาประสบการณ์ให้ได้ค่ะ
อาจเริ่มต้นจากงานในสำนักพิมพ์เล็ก ๆ ก่อน และค่อยก้าวไปในองค์กรที่ใหญ่ขึ้น
งานพิสูจน์อักษร เป็นงานที่ไม่เติบโตมาก ทั้งเรื่องของเงินเดือน และตำแหน่ง
แต่คุณสามารถรับงานพิเศษเพื่อทำในวันหยุดได้ หากต้องการรายได้เพิ่มขึ้น

งานพิสูจน์อักษรเป็นงานที่คนส่วนใหญ่ทำเพราะใจรัก และย้ายสายงานไปมากก็มี
เนื่องจากไม่เติบโต และค่าตอบแทนน้อย ถ้าคุณรักงานด้านนี้
อาจจะทำเป็นอาชีพเสริมก็ได้ค่ะ แม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่อาชีพที่ร่ำรวย
มีหน้ามีตาเหมือนนักเขียน ได้รับความชื่นชมแบบนักข่าว หรือเดี๋ยวนี้มีโปรแกรม
ตรวจพิสูจน์อักษรในคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ แล้วพิสูจน์อักษร ยังจำเป็นอีกเหรอ?

จำเป็นแน่นอนค่ะ เพราะคนที่ละเอียดรอบคอบ และอ่านหนังสือมามากเท่านั้น
จึงจะเหมาะกับงานนี้ เพราะลองให้นักข่าว หรือนักเขียนบางคนมานั่งตรวจปรู๊ฟ
เชื่อสิคะว่า เขาทำไม่ได้หรอก ถ้าไม่รอบคอบ ไม่มีทางทำงานนี้ได้สำเร็จ
แต่คุณเองสามารถทำงานเป็นนักเขียน หรือนักข่าวได้ เพราะคุณอ่านมามากแล้ว
และมีความรู้รอบตัว มีความสามารถในการจับประเด็น อีกทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์เอง
ก็ไม่สามารถแก้ไขทุกอย่างได้ละเอียดเท่ากับความรอบคอบของมนุษย์

บางที เจ้าของ blog เอง วันหนึ่งก็อาจจะย้ายสายงานเหมือนกัน
หลายครั้งมีคนพูดว่า จบเกียรตินิยมอันดับหนึ่งมานั่งเป็นแค่ปรู๊ฟทำไม
เคยโกรธในใจนะคะ แต่คิดว่า บางทีความสุขของคนเราไม่เหมือนกัน
เราอาจจะถนัดอะไรที่ต่างกัน เพราะทุกงานล้วนมีคุณค่าในตัวของมันเอง
ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานใหญ่หรืองานเล็ก ทำอะไรที่เราสบายใจ
มีความสุขที่ได้ทำ แค่นี้ก็พอแล้วค่ะ อนาคตค่อยว่ากันอีกครั้ง
เพราะชีวิตคนเราเปลี่ยนไปทุกวัน.

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเป็นพิสูจน์อักษรได้ที่
พิสูจน์อักษรสตอรี่  และความรู้ภาษาไทยดี ๆ
ในหัวข้อ ภาษาไทยน่ารู้

จนกว่าจะพบกันใหม่
สิรินัดดา

 

ติดต่องานพิสูจน์อักษร หรือพูดคุยกันได้ที่

Line ID : sirinadda-y (ช่องทางที่เร็วที่สุด)
Facebook : Yungie Sirinadda
E-mail : sirinaddaa@gmail.com

 

 

 

 

 

 

ลอยอังคาร vs อัฐิ มาเข้าใจให้ถูกกันเถอะ

สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านที่รัก เรื่องราววันนี้ยังคงนำเสนอเกี่ยวกับคำภาษาไทยน่ารู้เช่นเคยค่ะ ทุกคนคงรู้จักคำว่า “ลอยอังคาร” กันใช่ไหมคะ ในชีวิตหนึ่งของคนเรา อาจเคยร่วมพิธีนี้อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง

ลอยอังคาร คือ พิธีที่จัดขึ้นตามความเชื่อที่ว่า จะช่วยส่งวิญญาณของผู้ล่วงลับให้ไปสู่สุคติ โดยการนำ “อังคาร” ไปลอยในแม่น้ำ ดังที่เราคุ้นกันดีอยู่

แล้ว “อังคาร” คืออะไรกันแน่
หลายคนเข้าใจว่า อังคารกับอัฐิ คือสิ่งเดียวกัน
การลอยอังคาร ก็คือการนำกระดูกไปลอยน้ำนั่นเอง
แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ค่ะ…

พจนานุกรมราชบัณฑิตฯ ให้ความหมายว่า
อังคาร คือ เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว
อัฐิ คือ กระดูกคนที่เผาแล้ว

13438985_10153838299253719_285169717017911913_n

ควรใช้ว่า นำอัฐิลอยเจ้าพระยา, นำอังคารลอยเจ้าพระยา หรือนำอัฐิอังคารลอยเจ้าพระยา จึงจะถูกต้อง

ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากพาดหัวหนังสือพิมพ์นี้ “นำอัฐิลอยอังคาร” จึงเป็นการใช้คำที่ไม่ถูกต้องค่ะ ลอยอังคาร ก็คือลอยอังคาร หรือจะนำอัฐิไปร่วมลอยด้วย ก็ควรใช้ว่า “ลอยอังคารและอัฐิ” หรือลอยอังคารเพียงอย่างเดียว แต่ที่แน่ ๆ ไม่ควรใช้ว่า นำอัฐิลอยอังคาร ค่ะ เพราะนั่นแปลว่ายังไม่เข้าใจความหมายของทั้งสองคำนี้ โดยส่วนมาก อัฐิ คือสิ่งที่เราจะเก็บไว้บูชาในโกศ หรือจะนำบางส่วนไปลอยร่วมกับอังคารด้วยก็ได้

เมื่อวานนี้ สิรินัดดาได้มีโอกาสถกประเด็นการใช้ชีวิตกับแม่ค่ะ แม่เราชอบอ่านหนังสือเงียบ ๆ อยู่กับบ้าน ไม่ชอบเดินทาง ส่วนเราก็ชอบอยู่บ้าน แต่นาน ๆ ที ก็จะเดินทางท่องเที่ยวสักครั้ง เลยถามว่า แม่ไม่เบื่อบ้างเหรอ? ไม่ออกไปเที่ยวไหนเลย แม่ตอบมาว่า ความสุขของคนเราไม่เหมือนกัน และยิ่งอายุมากขึ้นจะคิดได้ว่า การได้ทำอะไรเพื่อคนอื่น หรือได้ช่วยเหลือคนอื่น นั่นแหละคือสิ่งที่มีความสุขที่สุด

จริงอย่างที่แม่พูดค่ะ ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ สำหรับเรา สิ่งที่ไม่มีวันสลาย นอกจากความดี ก็คือความรู้ซึ่งเป็นอมตะนิรันดร์ และได้แบ่งปันมันให้กับผู้อื่น.

 

จนกว่าจะพบกันใหม่
สิรินัดดา

หากต้องการติดต่องานพิสูจน์อักษร, รีไรต์ หรือปรับแก้ภาษาข้อเขียนต่าง ๆ
ติดต่อได้ที่

Line ID : sirinadda-y
Facebook : Yungie Sirinadda
E-mail : sirinadaa@gmail.com

ขอบคุณทุกคนที่ไว้วางใจใช้บริการของเราค่ะ.

 

 

 

ปรบมือ vs ตบมือ

สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องราวที่นำเสนอวันนี้ยังคงเกี่ยวกับ ‘คำ’ เช่นเคยค่ะ
สิรินัดดาเชื่อว่า คงมีหลายท่านสงสัยเหมือนกันใช่ไหมคะว่า คำว่า ‘ปรบมือ’ และ ‘ตบมือ’ นั้น ใช้ต่างกันหรือไม่อย่างไร บางคนอาจเข้าใจว่า คำว่า ปรบมือ ดูเป็นทางการกว่า และสุภาพกว่า ตบมือ จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่นะคะ สองคำนี้ความหมายไม่ต่างกัน เมื่อใช้ในลักษณะของการแสดงความยินดี แล้วแต่ว่าจะเลือกใช้คำไหน เนื่องจากเมื่อสืบค้นจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น ราชบัณฑิตยสภา) พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า ตบมือ, ปรบมือ ดังนี้

clapping-189171_1920

ตบมือ ก. เอาฝ่ามือตีกันให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น, ปรบมือก็ว่า เอาฝ่ามือตีกัน ให้เกิดเสียงเพื่อทำให้เกิดจังหวะ หรือขับไล่เป็นต้น.

ปรบ ก. การเอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้ง ให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น ในคำว่าปรบมือ, ตบมือก็ว่า 

ปรบมือให้ (สำ) ก. ยกย่อง, สรรเสริญ.

จากความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ตบมือ, และปรบมือ มีความหมายเหมือนกันค่ะ
ในกรณีที่เราต้องการแสดงกิริยาตบหรือปรบมือเพื่อแสดงความยินดี หรือยกย่อง สรรเสริญ
ใช้ได้ทั้งสองคำ คำว่า ปรบมือ ไม่ได้ทางการไปกว่า ตบมือ เพียงแต่ฟังดูเป็นคำสวยกว่า
เท่านั้นเอง ขณะที่ ‘ตบมือ’ มีความหมายที่ใช้ในการขับไล่ได้ด้วย แต่ปรบมือ ใช้ในความหมายด้านบวกเพียงอย่างเดียว คือแสดงความยินดี ยกย่อง หรือสรรเสริญ

นอกจากนี้ ยังมีคำที่น่าสนใจอีกคำคือ คำว่า ‘สู้รบตบมือ’ คำนี้ ควรเขียนว่า สู้รบตบมือ
หรือ สู้รบปรบมือ กันแน่ ? ถ้ามองผิวเผิน ตบมือ กับ ปรบมือ 2 คำนี้ความหมายไม่ได้ต่างกัน
น่าจะเขียนได้ทั้งสองแบบ แต่เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า สู้รบตบมือ ในพจนานุกรมฯ ให้ความหมายว่า

สู้รบตบมือ ก. ต่อสู้, ทะเลาะวิวาท, เช่น เราจะเอากำลังที่ไหนไปสู้รบตบมือกับคนมีอำนาจอย่างเขา เขาไม่ยอมสู้รบตบมือด้วย.

จะเห็นได้ว่าคำข้างต้นมีความหมายในเชิงลบ คือการต่อสู้ทะเลาะวิวาทกัน สอดคล้องกับคำว่า ตบมือ ที่ใช้ในเชิงลบ หรือการขับไล่ก็ได้ จึงต้องใช้ สู้รบตบมือ เพราะคำว่า ปรบมือ นั้น ใช้กับความหมายด้านบวกเท่านั้นค่ะ ดังนั้น หากจะเขียนคำนี้ จึงต้องสะกดว่า สู้รบตบมือ เท่านั้น ใช้ สู้รบปรบมือ แทนไม่ได้ค่ะ

หวังว่าความรู้ในวันนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณ ๆ ที่ผ่านมาไม่มากก็น้อยนะคะ
หากมีปัญหาเกี่ยวกับภาษาไทย ต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
หรือมีงานที่เกี่ยวกับการพิสูจน์อักษร งานรีไรต์ข้อเขียนต่าง ๆ
ติดต่อได้ที่

Line ID : sirinadda-y
Facebook : Yungie Sirinadda
E-mail : sirinaddaa@gmail.com

จนกว่าจะพบกันใหม่
สิรินัดดา

 

 

 

เท่าไร-เท่าไหร่, เมื่อไร-เมื่อไหร่ ใช้ต่างกันอย่างไร?

สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านที่รัก สำหรับเรื่องราววันนี้ ยังคงเกี่ยวกับเรื่องของ “คำ” เช่นเคยค่ะ
สิรินัดดามีข้อสังเกตเกี่ยวกับคำว่า “เท่าไร” มาฝากกันค่ะ จริง ๆ หลักการใช้คำนี้เหมือนไม่มีอะไรมาก คือ คำว่า “เท่าไร” ซึ่งพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กี่มากน้อย, เท่าใด ก็ใช้. ควรใช้ในภาษาเขียน แต่ “เท่าไหร่” ใช้ในภาษาพูด ซึ่งในชีวิตประจำวัน ก็คงไม่มีใครพูดว่า “เท่าไร” จริงไหมคะ? เช่น ถามราคา ก็จะพูดว่า “ราคาเท่าไหร่” “อันเท่าไหร่” เป็นต้น

13427796_10153802111583719_3754640426264367863_n

เท่าไร ว. กี่มากน้อย, เท่าใด ก็ใช้. ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ พ.ศ. 2554

แล้วแบบนี้ในนวนิยาย ที่เป็นภาษาพูด แต่อยู่ในรูปของภาษาเขียน จะใช้คำว่าเท่าไร หรือเท่าไหร่ ดีล่ะ ? ถ้านักพิสูจน์อักษรที่จำเป็นต้องยึด “พจนานุกรมราชบัณฑิตฯ” เป็นคัมภีร์ คู่มือในการทำงานแล้วล่ะก็ ที่ถูกก็ควรจะใช้ว่า “เท่าไร” นะคะ เพราะในพจนานุกรมฯ ไม่ได้ระบุว่าใช้คำว่า เท่าไหร่ แทนได้ ซึ่งต่างกับคำว่า “เมื่อไร” ที่พจนานุกรมราชบัณฑิตฯ ให้ความหมายไว้ว่า

เมื่อใด, เมื่อไร, เมื่อไหร่ คำที่ใช้ถามเกี่ยวกับเวลา จะเป็นอดีตหรืออนาคตก็ได้
เช่น เมื่อไรเขาจะมา.

13432207_10153802112688719_8348622338884801453_n

ความหมายของคำว่า เมื่อไร, เมื่อไหร่ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ พ.ศ. 2554

แสดงว่าจะใช้คำว่า เมื่อไร หรือ เมื่อไหร่ ก็ได้ในภาษาเขียน เพราะพจนานุกรมบันทึกไว้ทั้งสองคำ แต่ทำไมคำว่า เท่าไร ราชบัณฑิตฯ จึงไม่บันทึกคำว่า เท่าไหร่ ด้วยล่ะคะ? น่าสงสัยมั้ยคะว่าทำไม ? ซึ่งจริง ๆ เราก็ยังหาคำตอบข้อนี้ไม่ได้เหมือนกัน ใครมีคำตอบว่าเพราะอะไร มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะคะ ในเบื้องต้น หากใช้ในงานเขียน ภาษาเขียนทั้งหมด ใช้ว่า “เท่าไร” จะเป็นการใช้ที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตฯ ค่ะ

จนกว่าจะพบกันใหม่
สิรินัดดา

หากต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จ้างงานตรวจพิสูจน์อักษร
รีไรต์ ปรับภาษาข้อเขียนต่าง ๆ ติดต่อได้ที่

Line ID : sirinadda-y

Facebook : Yungie Sirinadda

E-mail : sirinaddaa@gmail.com